7, 8 Floor SC-45 Building, Department of Computer Science, Faculty of Science, Kasetsart University
0-2562-5444 Ext. 647204, 647209, 647210

Curriculum Detail

ชื่อหลักสูตร :

ภาษาไทย วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์

ภาษาอังกฤษ Master of Science Program in Computer Science

ใช้หลักสูตรปริญญาโทวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ชื่อปริญญา :

ชื่อเต็ม      วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วิทยาการคอมพิวเตอร์)

ชื่อย่อ       วท.ม. (วิทยาการคอมพิวเตอร์)

ชื่อเต็ม      Master of Science (Computer Science)

ชื่อย่อ       M.S. (Computer Science)

หน่วยงานรับผิดชอบ : ภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์และบัณฑิตวิทยาลัย

ระบบการศึกษา :

โครงการปริญญาโทสาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ ภาคพิเศษ ทั้งแบบแผน ก (ก2) และแผน ข เป็นหลักสูตร 2 ปี 4 ภาคการศึกษา โดยแต่ละปีการศึกษาประกอบด้วย 2 ภาคการศึกษา คือ

          ภาคการศึกษาที่ 1 เริ่ม เดือนมิถุนายน – กันยายน

          ภาคการศึกษาที่ 2 เริ่ม เดือนตุลาคม – มีนาคม

เกณฑ์การสำเร็จการศึกษา :

แผน ก แบบ ก(2)

       ให้เป็นไปตามข้อบังคับว่าด้วยการศึกษาขั้นบัณฑิตของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ซึ่งโครงการฯมีข้อแนะนำในการปฏิบัติ และดำเนินการ สำหรับนิสิตปริญญาโท สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ ภาคพิเศษ การศึกษาระดับขั้นปริญญาโท นิสิตจะต้องดำเนินการครบขั้นตอนดังนี้ คือ

  • แต่งตั้งคณะกรรมการที่ปรึกษาประจำตัวนิสิต (บว.02) และจัดทำแผนการเรียน(บว.03) ในภาคปลาย ของปีการศึกษาที่ 1 ก่อนปิดภาคการศึกษา นิสิตจะต้องแต่งตั้งคณะกรรมการที่ปรึกษา ประจำตัวนิสิต (บว.02) และยื่นแผนการเรียน (บว.03) ดังนี้
  • การแต่งตั้งคณะกรรมการที่ปรึกษาประจำตัวนิสิต ประกอบด้วย ประธานกรรมการ 1 คน และกรรมการร่วมซึ่งจะมีหรือไม่มีก็ได้
  • ประธานกรรมการ เป็นอาจารย์บัณฑิตประจำภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์
  • กรรมการร่วม เป็นอาจารย์บัณฑิต
  • จัดทำแผนการเรียน
  • แผน ก รายวิชาตามหลักสูตร 2 ปี ประกอบด้วย
      o วิชาเอก และวิชาเอกเลือก มีรหัสวิชาขึ้นต้นด้วย 418 จำนวน 28 หน่วยกิต
      o วิชาวิทยานิพนธ์ จำนวน 12 หน่วยกิต
      o วิชาอื่นๆ วิชาที่นิสิตได้ลงทะเบียนตามข้อ 1.1 และ 1.2 หรือวิชาระดับปริญญาโทและปริญญาตรี ที่นิสิตลงทะเบียนเพิ่มเติม
  • การสอบประมวลรู้
    นิสิตจะต้องผ่านขั้นตอน 1.1 แล้วจึงสามารถสอบประมวลความรู้ได้ตั้งแต่จบภาคการศึกษาที่ 2 เป็นต้นไป การสอบประมวลความรู้ของโครงการฯ เป็นการสอบแบบข้อเขียน มีขั้นตอนดังนี้
  • นิสิตสอบประมวลความรู้ได้ไม่เกิน 2 ครั้ง ถ้าสอบไม่ผ่านจะถูกคัดชื่อออก
  • วิชาที่จะสอบประมวลความรู้ทั้งหมด 3 วิชา และนิสิตต้องสอบผ่านหมดทุกวิชา
      o Advanced Computer architecture
      o Data Structures and Algorithm Analysis
      o Theory of Programming Languages
  • กำหนดการสอบประมวลความรู้จะจัดสอบปีละ 2 ครั้ง
      ครั้งที่ 1 ประมาณเดือน เมษายน
      ครั้งที่ 2 ประมาณเดือน ตุลาคม
  • >รายงานความก้าวหน้า (ทุกปลายภาคการศึกษา)
    สำหรับนิสิตลงทะเบียนเรียนวิชา 418599 วิทยานิพนธ์ เมื่อสิ้นสุดภาคการศึกษาให้นิสิตเสนอรายงาน-ความก้าวหน้า โดยนิสิตจะต้องยื่นแบบฟอร์มรายงานความก้าวหน้าโดยผ่านการเห็นชอบจากประธาน ที่ปรึกษาประจำตัวนิสิต ทางโครงการฯ จะกำหนดวันเวลาการนำเสนอรายงานความก้าวหน้าในปฏิทินการศึกษาของโครงการฯ สามารถดูได้ที่เว็บไซด์https://www.cs.sci.ku.ac.th
  • สอบข้อเสนอโครงการวิทยานิพนธ์
    ใน 3ภาคการศึกษาแรกไม่นับภาคฤดูร้อนโครงการจัดสอบข้อเสนอให้ในปลายภาคการศึกษาตามกำหนดในปฏิทินการศึกษาของโครงการฯ แต่สำหรับนิสิตที่ผ่านการศึกษา 3 ภาคการศึกษาไม่นับภาคฤดูร้อน สามารถขอสอบข้อเสนอโครงการวิทยานิพนธ์ด้วยตัวเองโดยดำเนินการในการยื่น เอกสารเพื่อขอสอบที่โครงการฯ ก่อน 2 สัปดาห์ ดังนี้
  • ส่งเอกสาร แบบประเมินผลรายงานการตรวจเอกสาร พร้อมแบบแสดงความจำนงค์ขอสอบข้อโครงการวิทยานิพนธ์ และโครงการสารนิพนธ์ เพื่อกำหนดวันสอบและห้องสอบ
  • แจ้งคณะกรรมการ ตามข้อ 1.1 และ ที่กำหนดโดยโครงการ เพื่อให้ทราบถึงวันนัดสอบ และก่อนวันสอบ 1 สัปดาห์ นิสิตควร e-mail และ/หรือโทรศัพท์แจ้งเตือน คณะกรรมการและเจ้าหน้าที่โครงการฯ เพื่อยืนยันการนัดหมาย
  • ในการสอบ คณะกรรมการ ตามข้อ 1.1 ต้องประเมินข้อเสนอโครงการฯ ของนิสิต โดยใช้ แบบประเมินข้อเสนอโครงการวิทยานิพนธ์ หลังจากสอบเสร็จแล้วให้นิสิตนำแบบประเมินของคณะกรรมการทั้งหมด ไปถ่ายสำเนาเพื่อเก็บไว้แก้ไขข้อเสนอโครงการฯ และนำตัวจริงมายื่นต่อโครงการฯ
  • ภายหลังการสอบข้อเสนอโครงการฯ ไม่เกิน 2 สัปดาห์ ให้นิสิตนำแบบตรวจฟอร์มโครงการวิทยานิพนธ์ (บว.04) พร้อมแบบขออนุมัติโครงการวิทยานิพนธ์ (บว.06) และโครงการวิทยานิพนธ์ ยื่นขออนุมัติโครงการฯ ที่บัณฑิตวิทยาลัย
  • นิสิตที่ลงทะเบียนวิชา 418599 วิทยานิพนธ์ ครบ 12 หน่วยกิต ตามหลักสูตร 2 ปี หากเกินกำหนด และนิสิตสอบข้อเสนอโครงการวิทยานิพนธ์แล้ว แต่ยังไม่สามารถสอบปากเปล่าขั้นสุดท้ายได้ นิสิตต้องเสียค่าธรรมเนียมการศึกษาเหมาจ่าย 30,000 บาท ต่อภาคการศึกษา
  • นิสิตที่ลงทะเบียนวิชา 418599 วิทยานิพนธ์ ครบ 12 หน่วยกิต ตามหลักสูตร 2 ปี หากเกินกำหนด และนิสิตยังไม่สามารถสอบข้อเสนอโครงการฯได้ นิสิตต้องเสียค่าธรรมเนียมการศึกษาเหมาจ่าย 35,000 บาท ต่อภาคการศึกษา
  • การเสนอผลงานวิชาการในงานประชุมวิชาการ
    ก่อนการนิสิตสอบสัมภาษณ์ขั้นสุดท้าย นิสิตจะต้องมีการตีพิมพ์ผลงานวิชาการ(วิทยานิพนธ์)ในงานประชุมวิชาการทั้งในประเทศ และ/หรือในต่างประเทศ หรือใบตอบรับการตีพิมพ์ผลงานฯ โดยทางโครงการฯ มีทุนสนับสนุนในการไปเสนอผลงานวิชาการต่างๆ โดยแบ่งเป็น
      o การประชุมวิชาการในประเทศ มีทุนสนับสนุน ครั้งละไม่เกิน 4,000 บาท ต่อครั้ง
      o การประชุมวิชาการต่างประเทศ มีทุนสนับสนุน ครั้งละไม่เกิน 10,000 บาท ต่อครั้ง

    ทั้งนี้ทุนสนับสนุนการเสนอผลงานวิชาการในงานประชุมวิชาการทั้งใน และต่างประเทศ ไม่เกิน 10,000 บาท ต่อนิสิต 1 คน รวมแล้วตลอดระยะเวลาการศึกษา ในส่วนของบัณฑิตวิทยาลัย มีทุนสนับสนุนสนับสนุนในการเสนอผลงานวิชาการต่างๆ โดยให้ทุนเสนอผลงานแบบปากเปล่าเท่านั้น แบ่งเป็น
      o การประชุมวิชาการในประเทศ มีทุนสนับสนุน ไม่เกิน 3,000 บาท ต่อครั้ง
      o การประชุมวิชาการต่างประเทศ มีทุนสนับสนุนไม่เกิน 10,000 บาท ต่อครั้ง
  • สอบสัมภาษณ์ขั้นสุดท้าย (Thesis)
    นิสิตที่ขอสอบสัมภาษณ์ขั้นสุดท้าย (Thesis) ต้องตรวจสอบผลการเรียน และผ่านขั้นตอน 1-6 มีเกรดเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 3.00 และได้รับอนุมัติโครงการวิทยานิพนธ์ ไม่น้อยกว่า 120 วัน โดยยื่นคำร้องขอสอบสัมภาษณ์ขั้นสุดท้ายที่บัณฑิตวิทยาลัย ไม่น้อยกว่า 2 สัปดาห์ ก่อนถึงวันที่จะสอบ ดังนี้
      1. ร่างวิทยานิพนธ์ที่เข้าเล่ม จํานวน 1 เล่ม
      2. ใบขอสอบสัมภาษณ์ขั้นสุดท้าย ที่คณะกรรมการลงนามเรียบร้อยแล้ว จํานวน 1 ชุด และให้ร่างวิทยานิพนธ์ที่เข้าเล่มกับคณะกรรมการทุกท่านเป็นที่เรียบร้อยแล้วเช่นกัน
      3. สําเนา transcript ฉบับล่าสุด จํานวน 1 ชุด
      4. หลักฐานการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานทางวิชาการทั้งหมดที่ได้รับตีพิมพ์
      5. คําร้องขอเปลี่ยนแปลงแผนการเรียน ที่อาจารย์ที่ปรึกษาลงนามเรียบร้อยแล้ว จํานวน 1 ชุด
      6. คําร้องขอเปลี่ยนชื่อหัวข้อโครงการวิทยานิพนธ์ที่อาจารย์ที่ปรึกษาลงนาม เรียบร้อยแล้วจํานวน1ชุด

    ทางบัณฑิตได้ประมาณการวันสอบสัมภาษณ์ขั้นสุดท้ายสำหรับผู้ที่ต้องการจบการ ศึกษาในแต่ละภาคการศึกษาดังนี้
      o ภาคต้น 1 ตุลาคม ของทุกปี
      o ภาคปลาย 1 มีนาคม ของทุกปี
      o ภาคฤดูร้อน 1 พฤษภาคม ของทุกปี

    นิสิตสามารถดูวันที่ของแต่ละภาคการศึกษาได้ที่ http://www.grad.ku.ac.th



ขั้นตอนสำหรับแผน ข

       แผน ข การดำเนินงานให้เป็นไปตามข้อบังคับว่าด้วยการศึกษาขั้นบัณฑิตของบัณฑิต วิทยาลัยหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ซึ่งโครงการฯมีข้อแนะนำในการปฏิบัติ และดำเนินการ สำหรับนิสิตปริญญาโท สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ ภาคพิเศษ การศึกษาระดับขั้นปริญญาโท นิสิตจะต้องดำเนินการครบขั้นตอนดังนี้ คือ ผู้สำเร็จการศึกษาจะต้องสอบวัดผล และมีผลการสอบผ่านดังนี้

  • แต่งตั้งประธานคณะกรรมการประจำตัวนิสิต และจัดทำแผนการเรียน
  • แต่งตั้งประธานคณะกรรมการประจำตัวนิสิต 1 คน เป็นอาจารย์ประจำ มีคุณวุฒิปริญญาเอกหรือเทียบเท่า หรือเป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่ารองศาสตราจารย์ในสาขาวิชานั้น หรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์กัน
    หมายเหตุ นิสิตควรดำเนินการแต่งตั้งประธานฯ ให้เสร็จสิ้นภายในภาคการศึกษาที่ 2 นับตั้งแต่เริ่ม เข้าศึกษา
  • จัดทำแผนการเรียน
  • รายวิชาตามหลักสูตร 2 ปี ประกอบด้วย
      o วิชาเอก และวิชาเอกเลือก มีรหัสวิชาขึ้นต้นด้วย 418 จำนวน 34 หน่วยกิต
      o วิชาสารนิพนธ์ จำนวน 6 หน่วยกิต
      o วิชาอื่นๆ วิชาที่นิสิตได้ลงทะเบียนตามข้อ 1.1 และ 1.2 หรือวิชาระดับปริญญาโทและปริญญาตรี ที่นิสิตลงทะเบียนเพิ่มเติม
  • การสอบข้อเสนอโครงการ วิชา 418595 การศึกษาค้นคว้าอิสระ
  • ทางโครงการฯจะตั้งแต่งคณะกรรมการในการสอบข้อเสนอโครงการฯ จำนวน 3 คนประกอบด้วย
  • ประธานคณะกรรมการสอบข้อเสนอโครงการ 1 คน โดยแต่งตั้งจากประธาน คณะกรรมการประจำตัวนิสิต
  • กรรมการ 2 คน โดยแต่งตั้งจาก อาจารย์ในภาควิชาฯ หรือ ผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง
  • กำหนดการสอบข้อเสนอโครงการฯ ซึ่งโครงการฯ จะจัดสอบปีละ 2 ครั้ง
  • ครั้งที่ 1 ในภาคการศึกษาที่ 1
  • ครั้งที่ 2 ในภาคการศึกษาที่ 2
  • นิสิตที่ลงทะเบียนวิชา 418595 การศึกษาค้นคว้าอิสระ ครบ 6 หน่วยกิต ตามหลักสูตร 2 ปี หากเกินกำหนด และ นิสิตสอบข้อเสนอโครงการวิทยานิพนธ์แล้ว แต่ยังไม่สามารถสอบปากเปล่าขั้นสุดท้ายได้ นิสิตต้องเสียค่าธรรมเนียมการศึกษาเหมาจ่าย 40,000 บาท ต่อภาคการศึกษา
  • นิสิตที่ลงทะเบียนวิชา 418595 การศึกษาค้นคว้าอิสระ ครบ 6 หน่วยกิต ตามหลักสูตร 2 ปี หากเกินกำหนด และนิสิตยังไม่สามารถสอบข้อเสนอโครงการฯได้ นิสิตต้องเสียค่าธรรมเนียมการศึกษาเหมาจ่าย 45,000 บาท ต่อภาคการศึกษา

  • หมายเหตุ นิสิตควรดำเนินการสอบข้อเสนอโครงการฯ ให้เสร็จสิ้นภายในภาคการศึกษาที่ 3 นับตั้งแต่เริ่มเข้าศึกษา เนื่องจากต้องได้รับอนุมัติข้อเสนอโครงการฯ อย่างน้อย 120 วัน จึงสามารถสอบสัมภาษณ์ขั้นสุดท้ายได้
  • การสอบปากเปล่า วิชา Independent Study
  • ทางโครงการฯ จะแต่งตั้งคณะกรรมการในการสอบปากเปล่า จำนวน 3 คนประกอบด้วย
  • ประธานกรรมการสอบปากเปล่า 1 คน โดยแต่งตั้ง จากประธาน คณะกรรมการประจำตัวนิสิต
  • กรรมการ 2 คน เป็นอาจารย์ในภาควิชาฯ และ หรือ ผู้ทรงคุณวุฒิ
  • กำหนดการสอบปากเปล่า ซึ่งโครงการฯ จะจัดสอบปีละ 2 ครั้ง
  • ครั้งที่ 1 ประมาณเดือน มีนาคม
  • ครั้งที่ 2 ประมาณเดือน กันยายน

  • หมายเหตุ นิสิตควรดำเนินการสอบปากเปล่า ให้เสร็จสิ้นภายในภาคการศึกษาที่ 4 นับตั้งแต่เริ่มเข้า-ศึกษาและต้องได้รับการอนุมัติข้อเสนอโครงการฯ อย่างน้อย 120 วัน
  • การสอบประมวลความรู้แบบปากเปล่า
  • นิสิตแผน ข. ต้องสอบประมวลความรู้แบบปากเปล่า นิสิตต้องศึกษารายวิชาครบถ้วนตามที่กำหนดหลักสูตร และมีแต้มระดับคะแนนเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 3.00
  • การแต่งตั้งคณะกรรมการการสอบประมวลความรู้ โดยบัณฑิตวิทยาลัยจะแต่งตั้งกรรมการอย่างน้อย 3 คน ประกอบด้วย ประธานการสอบ กรรมการ และผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก
  • ในกรณีนิสิตสอบไม่ผ่านในครั้งแรก ให้มีการสอบแก้ตัวอีกครั้งหนึ่ง ภายใน 60 วันนับจากวันสอบครั้งแรก ในกรณีสอบไม่ผ่านเป็นครั้งที่สอง ถือว่าหมดสภาพนิสิต
  • วิชาที่ใช้สอบประมวลความรู้
    1. 1. Advanced Computer architecture
      2. Data Structures and Algorithm Analysis
      3. Theory of Programming Languages
  • กำหนดการประมวลความรู้ ซึ่งโครงการฯ จะจัดสอบปีละ 2 ครั้ง
  • ครั้งที่ 1 ประมาณเดือน เมษายน
  • ครั้งที่ 2 ประมาณเดือน ตุลาคม

  • หมายเหตุ นิสิตต้องผ่านขั้นตอนที่ 4.1 – 4.3 และสอบผ่านทุกวิชาที่หลักสูตรกำหนดจึงจะสอบได้

วัน-เวลาเรียน :

วันศุกร์ 18:30 – 20:30 น.

วันเสาร์ – อาทิตย์ 8:00 – 18:30 น.